GST Fire Alarm | 🔥สัญญาณเตือนอัคคีภัย🔥
ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ระบบสำหรับแจ้งเมื่อมีเหตุเพลิงไม่ใช่
อุปกรณ์ตรวจจับชนิดต่างๆ
👉🦺ปลอดภัยไว้ก่อนปรึกษาเรา #TGcontrol ☎️02-530-9090

ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ คืออะไร

ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ หรือ ระบบ fire alarm คือ ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ โดยจะแจ้งเตือนไฟไหม้ผ่านระบบอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ต่างๆ เช่น ชุดจ่ายไฟ แผงควบคุม อุปกรณ์เริ่มสัญญาณ อุปกรณ์แจ้งสัญญาณ และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ เป็นต้น เพื่อแจ้งให้คนภายในพื้นที่ทราบว่ามีเหตุเพลิงไหม้ และให้ทำการควบคุมเพลิงไม่ให้ลุกลามจนเกิดอุบัติเหตุ และอพยพผู้คนออกจากพื้นที่อย่างรวดเร็วและปลอดภัยที่สุด การออกแบบระบบเตือนไฟไหม้จึงต้องออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะอาคารนั้นๆ มากที่สุด

  • Smoke Detector (อุปกรณ์ตรวจจับควัน)
  • Heat Detector (อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน)
  • Manual Pull Station (อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ)
  • Alarm Bell (แจ้งเหตุเพลิงไหม้แบบกระดิ่ง)
  • Fire Alarm Control Panel (ตู้ควบคุมสัญญาณระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้)
  • Emergency Light (ไฟฉุกเฉิน)
  • Exit Emergency Light (ป้ายไฟทางออกหนี)
  • Conventional Beam Smoke Detector  (อุปกรณ์ตรวจจับควันด้วยลำแสงบีม)
  • Gas Detector (อุปกรณ์ตรวจจับการรั่วไหลของก๊าซไวไฟ)
  • Explosion Proof Type (อุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้ชนิดกันระเบิด)

อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) คืออะไร 

อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ หรือที่หลายคนเรียกทับศัพท์ว่า Smoke Detector (สโมคดีเทคเตอร์) หรือ Smoke Sensor คือ อุปกรณ์ป้องกันเหตุเพลิงไหม้ โดย Smoke Detector สามารถตรวจจับอนุภาคควันไฟได้ โดยที่เมื่อเกิดเพลิงไหม้ สิ่งแรกที่ลอยขึ้นไปบนอากาศจะเป็นควัน จึงทำให้ Smoke Detector ทำงานส่งสัญญาณเตือนภัย (Signaling Equipment) ไม่ว่าจะเป็น เสียง และ แสง ซึ่งช่วยให้คนที่อยู่บริเวณรอบข้างปลอดภัย และอพยพหนีไฟได้ทันท่วงที

นอกจากนี้การที่ติดตั้ง Smoke Detector ตามอาคารจะช่วยให้เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้แล้วสามารถดับไฟได้ทันที ป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามไปยังบริเวณอื่น พร้อมทั้งช่วยลดความเสียหายของทั้งชีวิตและทรัพย์สินลงได้

บางคนอาจจะเกิดความสับสนระหว่าง Smoke Detector กับ Heat Detector โดยที่อุปกรณ์ทั้งสองชนิดนี้เป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในหมวกระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Alarm System) แต่อุปกรณ์ทั้งสองชนิดมีกระบวนการทำงานที่แตกต่างกัน และมีคุณสมบัติแตกต่างกัน โดย Smoke Detector เป็นการตรวจจับอนุภาคควันไฟ แต่ Heat Detector เป็นการตรวจจับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

อุปกรณ์ตัวจับควัน และความร้อนยี่ห้อ GST

  • DC-M9102 ตัวตรวจจับควัน มาตราฐานUL
  • DC-9102E ตัวตรวจจับควัน มาตราฐาน LPCB
  • DC-M9103 ตัวตรวจจับความร้อน มาตราฐานUL
  • DC-9103E ตัวตรวจจับความร้อน มาตราฐานLPCB
  • DC-9105E ตัวตรวจจับควันชนิดลำแสง (บีม) มาตราฐานLPCB

smoke detector ทั้ง 2 ชนิด แบ่งตามลักษณะการตรวจจับ

ก่อนที่จะตัดสินใจว่าตนเองควรใช้ Smoke Detector แบบไหน แนะนำให้ศึกษาข้อมูลของ Smoke Detector ให้ดีก่อน เพื่อความเหมาะสมและความคุ้มค่าในการใช้งาน ซึ่งในปัจจุบันสามารถแบ่งชนิดของ Smoke Detector ออกเป็น 2 ชนิด มีรายละเอียดดังนี้

1. Ionization Smoke Detector

Smoke Detector แบบ Ionization ประกอบไปด้วยแผ่นชาร์จประจุ และสารแผ่รังสี โดยส่วนใหญ่มักจะใช้ Americium 241 โดยการทำงานของ lonization smoke detector จะทำงานด้วยการวัดค่าหรือตรวจจับโมเลกุลในอากาศด้วยแผ่นชาร์จประจุ

เมื่อมีการเผาไหม้เกิดขึ้นความชื้นและความกดดันในอากาศจะมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ lonization smoke detector สามารถตรวจจับได้ ทั้งนี้ smoke detector แบบ lonization เมื่ออยู่ในบริเวณที่ฝุ่น และความชื้นมากเกินอาจจะทำให้อุปกรณ์ตรวจจับควันทำงานผิดพลาดได้

ทั้งนี้ยิ่ง Smoke Detector มีความไวในการตรวจจับมากเท่าไหร่ อาจจะยิ่งทำให้ส่งสัญญาณเตือนภัยผิดพลาดได้มากขึ้น

2.Photoelectric Smoke Detector

สำหรับหลักการทำงานของ Smoke Detector แบบ Photoelectric คือ การกระจายแสงสะท้อน หรือ การบังแสง โดยที่ภายใน Smoke Detector แบบ Photoelectric จะมีหลอดไฟ LED ที่ส่องไปยังอุปกรณ์ไวแสง (Photosensitive Element)

เมื่อมีการเผาเพลิงเกิดขึ้น และควันลอยขึ้นไปในอากาศเข้าไปใน Smoke Detector ทำให้ควันเข้าไปบังแสงที่ส่องไปยังวัตถุไวแสงในตัวอุปกรณ์ตรวจจับควัน เมื่อความเข้มข้นของแสงลดลงจนถึงจุดที่กำหนดไว้ Smoke Detector จะส่งสัญญาณเตือนภัยทันที

โดย Smoke Detector ในปัจจุบันที่กำลังเป็นที่นิยมในท้องตลาด ได้แก่ Smoke Detector แบบ Photoelectric ยี่ห้อ CEMEN เนื่องจากคุณภาพดีและมีให้เลือกหลายแบบตามความเหมาะสมในการใช้งาน เช่นรุ่น s314 และ s315 ที่ได้ยกตัวอย่างไปข้างต้น

การตรวจสอบอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) ให้เป็นไปตามมาตรฐาน

สำหรับผู้ที่ติดตั้ง Smoke Detector ไปแล้ว เมื่อเวลาผ่านไปสักประมาณ 1 – 2 ปี แนะนำให้ทำการทดสอบ Smoke Detector ว่ายังสามารถใช้งานได้ปกติหรือไม่ เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างทางสิ่งแวดล้อมที่อาจจะทำให้อุปกรณ์ตรวจจับควันของคุณเสื่อมสภาพ หรือ ใช้งานไม่ได้แล้ว เช่น ลม ฝุ่นละออง ความชื้น และความร้อน

โดยการตรวจสอบอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) สามารถปฏิบัติตาม ได้ดังนี้

  • ตรวจสอบลักษณะภายนอกของอุปกรณ์ โดยดูว่าชิ้นส่วนสำคัญของ Smoke Detector ยังอยู่ครบหรือไม่ เช่น หลอดไฟแสดงผล และอุปกรณ์ต่อสัญญาณกับวงจรสัญญาณ
  • ตรวจสอบว่ามีฝุ่นละอองสะสมในอุปกรณ์หรือไม่ เพราะการที่มีฝุ่นละอองสะสมอยู่ในอุปกรณ์จะทำให้ Smoke Detector ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
  • ทำความสะอาดตาข่ายป้องกันแมลง พร้อมทั้งเช็คสภาพว่าตาข่ายยังสามารถใช้งานได้ดีหรือไม่
  • ชิ้นส่วนโลหะต้องไม่มีร่องรอยการผุกร่อน
  • ตรวจสอบความมั่นคงของอุปกรณ์ น็อตทุกตัวต้องไม่หลุดหลวมและอยู่ในภาพใช้งานได้ปกติ

การทดสอบระบบการทำงานของ Smoke Detector

หลังจากที่ตรวจสอบลักษณะภายนอกและชิ้นส่วนสำคัญของ Smoke Detector ไปกันแล้ว อย่าลืมที่จะทดสอบระบบการทำงานของ Smoke Detector ว่าอุปกรณ์ยังสามารถทำงานได้ปกติหรือไม่ โดยวิธีการทดสอบระบบการทำงานของ Smoke Detector แบ่งออกเป็น 3 วิธีหลัก ดังนี้

ทดสอบการทำงานของอุปกรณ์

สำหรับการทดสอบการทำงานของ Smoke Detector ต้องอิงตามเกณฑ์การใช้งานที่ได้ออกแบบเอาไว้ ทั้งค่าความไวของการตรวจจับและการป้อนแรงดันไฟฟ้า โดยการทดสอบสามารถทำได้ด้วยการปล่อยควันเข้าไปในอุปกรณ์ตรวจจับควันของคุณ แนะนำให้ใช้เป็นควันจากเชือกหรือไส้ตะเกียง เนื่องจากเมื่อติดไฟแล้วจะมีปริมาณควันได้เกินระดับที่กำหนดเอาไว้ และหลังจากที่ควันเข้าไปตามปริมาณที่กำหนดไว้แล้ว Smoke Detector ต้องส่งสัญญาณเตือนไม่น้อยกว่า 4 นาที

นอกจากนี้แนะนำให้ตรวจสอบระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าจากแหล่งสำรอง ด้วยการตัดไฟจากแหล่งจ่ายไฟหลักเพื่อดูว่าระบบจ่ายกระแสไฟฟ้าแหล่งสำรองสามารถทำงานได้ปกติหรือไม่

ทดสอบประสิทธิภาพของแบตเตอรี่

ส่วนใหญ่ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ Smoke Detector จะมีอายุการใช้งานประมาณ 1 ปี โดยสามารถประเมินความสามารถของแบตเตอรี่ ได้ดังนี้

  • เมื่อชิ้นส่วนสายไฟฟ้าเชื่อมต่อเกิดการหลุดหรือหลวมจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรที่ส่งผลกระทบต่อ Smoke Detector ตัวอุปกรณ์จะต้องส่งสัญญาณเตือนว่าระบบขัดข้อง โดยไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อนาที และจะแสดงติดต่อกันเป็นเวลา 7 วัน
  • เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับหรือแหล่งจ่ายไฟฟ้าหลักไม่สามารถส่งกระแสไฟได้เกิน 4 นาที Smoke Detector จำเป็นต้องส่งสัญญาณเตือนว่าระบบขัดข้อง
  • ทุกครั้งที่มีการทดสอบประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ หรือ ระบบการทำงานของ Smoke Detector อย่างลืมที่จะจดบันทึกและระบุวันที่กำกับไว้

ทดสอบการตรวจจับควัน

สำหรับการทดสอบการตรวจจับควันของ Smoke Detector จำเป็นต้องอ้างอิงเกณฑ์ตามที่ความสามารถของอุปกรณ์ Smoke Detector ไม่ว่าจะเป็น ค่าการตรวจจับสูงสุดและต่ำสุดภายใต้ความเร็วลม ทิศทางของควันไฟ โดยมีวิธีการทดสอบตรวจจับควัน ดังนี้

  • การทดสอบการตรวจจับควันของ Smoke Detector จำเป็นต้องทำการทดสอบภายใต้ความชื้นสัมพัทธ์ที่ 30 – 70% อุณหภูมิระหว่าง 20 – 26 องศาเซลเซียส และความดันอากาศ 93.3 กิโลปาสคาล
  • การทดสอบการตรวจจับควัน ต้องทำการป้อนควันแบบต่อเนื่องเข้าไปใน Smoke Detector จนกว่าอุปกรณ์จะส่งสัญญาณเตือน และหลังจากทำการทดสอบการตรวจจับควันเรียบร้อยแล้ว จำเป็นต้องระบายอากาศให้อุปกรณ์กลับไปแสดงสถานะปกติ โดยต้องมีการไหลของอากาศอยู่ในระดับเสถียรไม่น้อยกว่า 30 วินาที ก่อนทำการทดสอบอีกครั้ง

การทดสอบการตรวจจับควันของ Smoke Detector ในห้องทดสอบจำเป็นต้องปรับค่าไว้ให้ต่ำที่สุด โดยที่ค่าการตรวจจับของ Smoke Detector แต่ละตัวจะไม่เท่ากัน แนะนำให้ตั้งค่าตามเกณฑ์ของอุปกรณ์ของคุณ

การเลือกใช้ smoke detector ให้เหมาะสม

สำหรับผู้ที่ต้องการติดตั้ง Smoke Detector อาจจะเกิดความสงสัยว่าควรติดอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดใด ทั้งนี้จำเป็นต้องพิจารณ์จากการใช้งาน สถานที่ และต้นเหตุที่อาจจะทำให้ก่อเพลิงไหม้  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • Smoke Detector แบบ Ionization จะเหมาะกับการตรวจจับควันที่เกิดการเผาไหม้อย่างรวดเร็ว และมีอณูขนาดเล็กประมาณ 0.01 – 0.3 ไมคอน (Micron)
  • Smoke Detector แบบ Photoelectric จะเหมาะกับการตรวจจับควันที่เกิดการเผาไหม้อย่างช้าๆ โดยมีอนูขนาดที่ 0.3 – 0.10 ไมคอน (Micron)

ทั้งนี้ Smoke Detector ทั้งสองชนิดสามารถตรวจจับควันได้เหมือนกัน จะแตกต่างกันที่เวลาในการตอบสนอง และเป็นเรื่องยากที่จะบอกได้ว่า Smoke Detector แบบไหนเหมาะกับตึก อาคาร หรือโรงงาน เนื่องจากมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเร็วในการเผาไหม้ เช่น การเผาไหม้ที่เกิดจากการทิ้งก้นบุหรี่ลงโซฟา หรือ เตียงนอน จะทำให้เกิดการเผาไหม้อย่างช้าๆ แต่การทิ้งก้นบุหรี่เช่นเดียวกันลงที่กระดาษจะทำให้เกิดการเผาไหม้อย่างรวดเร็ว

แนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการติดตั้ง Smoke Detector ให้ปรึกษาร้านค้าหรือผู้เชี่ยวชาญว่าควรสถานที่ที่คุณจะติดตั้ง Smoke Detector ควรติดตั้งแบบใดจึงจะเหมาะสมและคุ้มค่ามากที่สุด สุดท้ายนี้หากคุณกำลังมองหาอุปกรณ์ตรวจจับควัน Smoke Detector หรือ อุปกรณ์เซฟตี้อื่นๆ ที่สามารถช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากเพลิงไหม้ สามารถเข้ามาเลือกซื้อได้ที่ TGcontrol

ขอบคุณที่มาจาก : https://santofire.co.th/

Tango G4 LED Flood
BVP432 LED272/CW 220~240V 200W SWB GM

ติดตั้งเสาไฟสูง 7 เมตร โคมไฟ LED Flood Light งานโคมไฟแสงสว่างนึกถึงเรา #TGcontrol

Philips Tango G4 LED flood lighting is the 4th generation of the Tang LED family. A new range lighting that delivers thigher efficacy and has an optimized windage area, and less weight thanks to its technical design. This product introduction is the ideal solution for a wide range of area lighting and recreational sports lighting applications. lt incorporates the latest LED light source, one-piece optical system, heat sink and driver into a compact and robust housing that meets globallyrecognized safety standards. lts specially-desined heat sink incorporates aesthetics and functionality to ensure excellent reliability. Powered by LED technology, Tango G4 LED floodlights deliver superior performance and a longer lifetime, bringing area lighting to a whole new level.

  • Warnings and Safety
    please pay attention to the mounting instructions
Tango G4 LED Flood
Tango G4 LED Flood
Tango G4 LED Flood

“หากมีก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนไดออกไซด์น้อย โอกาสที่จะหยุดภาวะโลกร้อนก็จะเพิ่มขึ้น”

Net Zero หรือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โดยการสร้างสมดุลให้กับสภาพภูมิอากาศของโลก ด้วยวิธีการ “จำกัด” และ “กำจัด” การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ

การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศด้วยวิธีการปลูกต้นไม้ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือใช้เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture, Utilization and Storage : CCUS) โดยส่วนมากจะมีการใช้ระบบนี้ในโรงงานขนาดใหญ่หรือโรงไฟฟ้า เพื่อป้องกันไม่ให้มีการปล่อยคาร์บอนออกมามากเกินไป รวมถึงการนำสิ่งที่สามารถกักเก็บได้มาใช้งานในภายหลัง เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่มีศักยภาพในการลดการปล่อยคาร์บอน เพราะหากยิ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาเท่าไหร่ เรายิ่งต้องรีบกำจัดออกจากชั้นบรรยากาศให้มากเท่านั้น

หากต้องการบรรลุเป้าของ Net Zero ได้อย่างแท้จริง ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ให้ลด ละ เลิก การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลให้ได้มากที่สุด เช่น ถ่านหิน น้ำมัน เป็นต้น เพราะการใช้พลังงานเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดสภาพวะโลกร้อนทั้งสิ้น และหันไปใช้พลังงานหมุนเวียนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ซึ่งแอร์โปรดักส์ บริษัทแม่ของบีไอจีในสหรัฐอเมริกา ผู้นำระดับโลกด้านการผลิตก๊าซอุตสาหกรรม มีโครงการ Third by ’30 โดยมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยคาร์บอนของโรงงานทั่วโลก 1 ใน 3 ภายในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) ผ่านการแปรสภาพเป็นก๊าซและการดักจับคาร์บอน ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพลังงานสะอาดที่ยั่งยืนในอนาคต

นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับรัฐบาลแคนาดา ประกาศแผนก่อสร้างศูนย์ผลิตพลังงานไฮโดรเจน “Alberta” ที่ปลอดคาร์บอนแห่งใหม่มีมูลค่ามากกว่า $1,000 ล้าน USD ผลิตและแปรสภาพก๊าซไฮโดรเจนปลอดคาร์บอนให้กลายเป็นของเหลว โดยเริ่มดำเนินการผลิตในปี พ.ศ. 2567 นี้

โดยโรงงานแห่งใหม่นี้จะสามารถดักจับก๊าซคาร์บอนจากวัตถุดิบตั้งต้นได้มากกว่าร้อยละ 95 และเก็บลงใต้ดินอย่างปลอดภัย สามารถช่วยลูกค้าภาคการกลั่นและภาคปิโตรเคมีที่ได้รับก๊าซไฮโดรเจนจากท่อส่งก๊าซแทนการขนส่งด้วยรถบรรทุก ซึ่งจะลดความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซคาร์บอนลงได้ในที่สุด

อีกหนึ่งโครงการที่น่าสนใจ “โครงการนีออม” (NEOM) เป็นโครงการไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) ปลอดคาร์บอนที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นโรงงานผลิตแอมโมเนียจากไฮโดรเจน ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตทั้งหมด มีเป้าหมายคือผลิตแอมโมเนียที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมป้อนสู่ตลาดโลก โดยความร่วมมือระหว่างแอร์โปรดักส์ อัควาเพาเวอร์ (Acwa Power) และนีออม (Neom) จัดตั้งอยู่ในพื้นที่โครงการเมืองใหม่นีออมในซาอุดิอาระเบีย

โรงงานแห่งนี้จะใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับโลกในการนำพลังงานหมุนเวียนกว่า 4 กิกะวัตต์ ที่ผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และระบบกักเก็บพลังงานมาผลิตไฮโดรเจนปริมาณ 650 ตัน/วัน ด้วยกระบวนการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า (Electrolysis) ใช้เทคโนโลยีการแยกอากาศของแอร์โปรดักส์และผลิตแอมโมเนียที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมปริมาณ 1.2 ล้านตัน/ปี มีกำหนดเริ่มดำเนินการผลิตเร็ว ๆ ในปี พ.ศ.2568

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : https://www.bigth.com/en/blog/what-is-net-zero/

โคมไฟเปล่ากันน้ำกันฝุ่น เปลี่ยนหลอด LED TLED ได้ คลิปล๊อคแสตนเลสแข็งแรงไม่เป็นสนิม วัสดุโพลีคาร์บอนเนตไม่ลามไฟ ปลอดภัยด้วยฟิวส์ป้องกันการลัดวงจร

  • โคมไฟกันน้ำกันฝุ่น รุ่น WT069C สำหรับหลอด LED Tube ยาว 1200 มม. x 1 ดวง
  • การเข้าไฟแบบ Single Ended Power Input
  • วัสดุโพลีคาร์บอนเนตไม่ลามไฟ ทนรังสียูวีจากแสงแดดได้ดี
  • หน้าโคมกระจายแสงดีเยี่ยมด้วย Prismatic Cover
  • กันน้ำกันฝุ่น IP 65 กันกระแทก IK08
  • ฟิวส์กันไฟฟ้าลัดวงจร 1Aติดตั้งได้แบบแขวนและแบบติดผนัง
  • Connector กันน้ำ
  • ทนอุณหภูมิ -20 ถึง +45 องศาเซลเซียส

อันดับ1 โคมไฟโคมกันน้ำกันฝุ่น Philips

สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ต้องที่นี่‼ #TGcontrol 02-530-9090
____________________
📍ติดต่อ บริษัท ที.จี. คอนโทรล
☎️โทร. 02-530-9090
📩Email: sales@tgcontrol.com
✅Line: @tgcontrol หรือคลิก https://line.me/R/ti/p/%40tgcontrol

การบำรุงรักษาอินเวอร์เตอร์ (PM) Preventive Maintenance Inverter (PM)

PM การบำรุงรักษาเชิงป้องกันสำหรับอินเวอร์เตอร์ หรือ PM (Inverter) คือ การบำรุงรักษาอินเวอร์เตอร์ก่อนที่อินเวอร์เตอร์นั้นจะเกิดความเสียหาย งานซ่อมบำรุงในลักษณะนี้ มีจุดประสงค์ เพื่ออป้องกันการหยุดทำงานของเครื่องจักรแบบเฉียบพลันที่เกิดขึ้นจากอินเวอร์เตอร์ ทำให้ฝ่ายผลิตยังคงสามารถควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามแผนได้ การวางแผนทำ PM Inverter โดยกำหนดระยะเวลา เพื่อช่วยป้องกันการเกิดความเสียหาย ที่อาจเกิดจากฝุ่นละอองสะสม สิ่งนี้คือ ปัญหาที่มาแบบเงียบๆ มาวางแผนทำ PM ช่วยลดความเสี่ยงที่ทำให้กระบวนการผลิตเกิดความเสียหาย และยังช่วยยืดอายุการใช้งานอินเวอร์เตอร์ให้มีประสิทธิภาพดี แถมช่วยคุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย

ประโยชน์ที่ได้รับจากงาน Preventive Maintenance

  • ลดปัญหาการ Shutdown  ของเครื่องจักร
  • ตรวจสอบข้อบกพร่องของ Inverter ABB ก่อนชำรุดเสียหาย
  • รักษาประสิทธิภาพในการทำงานของ Inverter ABB
  • ง่ายต่อการควบคุมดูแลและบริหารจัดการเครื่องจักร
  • เพิ่มผลกำไรให้กับบริษัท
  • เกิดความเชื่อมั่นในเครื่องจักร
  • การทำงานสะดวกสบายปลอดภัยและคุ้มค่าต่อการลงทุน
  • รักษาประสิทธิภาพในการทำงานของอินเวอร์เตอร์
  • ง่ายต่อการดูแลรักษา และบริหารจัดการ
  • ทราบถึงข้อบกพร่องของ Inverter ก่อนชำรุดเสียหาย
  • ลดต้นทุนในการผลิต
  • เพิ่มความเชื่อมั่นในการทำงาน และเครื่องจักร
  • ทราบผลการวิเคราะห์ปัญหาหน้างาน
  • ได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

การแบ่งลักษณะของการบำรุงรักษา

  • การบำรุงรักษาเป็นประจำตามกำหนดระยะเวลา
  • การบำรุงรักษาตามอายุการใช้งาน

ขอบเขตการทำงาน

  • ตรวจสอบ และประเมินอายุการใช้งานของส่วนประกอบต่างๆ
  • ตรวจสอบตัวเก็บประจุไฟฟ้า (Capacitor bank)
  • ตรวจสอบเวอร์ชั่นของซอฟแวร์
  • ตรวจสอบข้อมูลของมอเตอร์
  • ตรวจสอบแหล่งจ่ายไฟฟ้า (Supply Voltage)
  • ตรวจสอบตัวอุปกรณ์ควบคุมแรงดันไฟฟ้า (Control voltage)
  • ตรวจสอบพัดลมระบายความร้อน
  • ตรวจสอบแรงดัน DC bus
  • อธิบายการใช้งานและการดูแลรักษาที่ถูกต้อง
  • สำรองข้อมูลค่าพารามิเตอร์
  • ส่งรายงานสรุปผลการทำ PREVENTIVE MAINTENANCE
  • Inspaction checking measures the other component
  • Check capacitor bank
  • Cleaning
  • Tigtening
  • Checking software version and motor data
  • Check supply voltage
  • Check control voltage
  • Inpection of cooling fan ( Inverter and Capacitor bank )
  • Measuring DC bus
  • Checking parameter ( Windows ware ABB )
  • Checking temperature
  • Work description
  • Report comment & parameter

กลุ่มอุตสาหกรรมที่ควรใส่ใจเป็นพิเศษ

  • อุตสาหกรรม ปูน ซีเมนต์ เหมืองแร่ สกัดหิน โรงโม่หิน โรงสีข้าว สถานเลี้ยงสัตว์ โรงงานกระดาษ
  • อุตสาหกรรมการผลิตที่มีละอองน้ำมัน เช่น โรงทำสี ชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องจักรกลไฮดรอลิกส์ เครื่อง Press โรงกลั่นน้ำมัน
  • อุตสาหกรรมอาหาร กระบวนการผลิตอาหาร ที่มีห้องเย็นและความชื้น และอยู่ในห้องควบคุมอุณหภูมิ
____________________
📍ติดต่อ บริษัท ที.จี. คอนโทรล จำกัด
☎️โทร. 02-530-9090
📩Email: sales@tgcontrol.com
✅Line: @tgcontrol หรือคลิก https://line.me/R/ti/p/%40tgcontrol
ในการประชุม COP26 หรือ การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ มีผู้แทนจากกว่า 200 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมประชุมเพื่อประกาศเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศตัวเองต่อประชาคมโลก และหาข้อตกลงร่วมกัน ในการวางแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อก่อให้เกิดการลงมือทำจริง การที่ทุกประเทศมีความร่วมมือกันเช่นนี้ เนื่องจากต้องการที่จะควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ตามข้อตกลงภายใต้ความตกลงปารีส (Paris Agreement) นั่นเอง ย้อนกลับไปที่การประชุม COP21 ในปี ค.ศ. 2015 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้เกิดข้อตกลงที่เรียกว่าความตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่มีเป้าหมายร่วมกันในการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส และพยายามตั้งเป้าหมายสูงสุดไว้ที่ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม การที่อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นเพียง 0.5 องศาเซลเซียส ก็ส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อโลก ทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และภัยพิบัติต่าง ๆ ที่ตามมา การประชุม COP26 จึงทำให้นานาประเทศต่างประกาศเป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการหยุดยั้งภัยอันตรายของมวลมนุษยชาติ และประเทศไทยได้แสดงเจตนารมย์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยได้ประกาศเป้าหมายการเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065  แล้วความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์คืออะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร และทำไมถึงต้องใช้เวลาแตกต่างกันถึง 15 ปี กว่าจะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้

Image by ejaugsburg from Pixabay

ความจริงแล้ว ทั้งความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ นั้นมีเป้าหมายเดียวกันคือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนับได้เท่ากับศูนย์ แต่มีกลไกในการลดก๊าซเรือนกระจกที่แตกต่างกัน ดังนี้ ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) คือ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกดูดกลับคืนมา โดยผ่าน 3 กลไก ได้แก่ (1) “ลด” การปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การใช้พลังงานหมุนเวียนแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil Fuel) (2) “ดูดกลับ” ก๊าซเรือนกระจกจากชั้นบรรยากาศ เช่น การปลูกป่าเพื่อเพิ่มแหล่งสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามธรรมชาติ (Carbon Sink) การใช้เทคโนโลยีในการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และนำกลับมากักเก็บใต้พื้นดิน หรือใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ และ (3) “ชดเชย” การปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Offset) ยกตัวอย่างให้เห็นภาพเช่น หากเราปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 100 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และมีความสามารถในการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกได้เพียง 80 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เราสามารถชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหลืออีก 20 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิต

ความแตกต่างระหว่าง Carbon Neutrality และ Net Zero Emissions ที่มาภาพ: https://www.pier.or.th/blog/2022/0301/

ส่วน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) จะเกิดขึ้นได้เมื่อก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์มีภาวะสมดุลกับการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก กล่าวคือ หากเราปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 100 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ก็จะต้องมีกิจกรรมที่ลดหรือดูดกลับก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 100 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าเช่นกัน ไม่สามารถชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิตได้ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เป้าหมายของความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ห่างกันถึง 15 ปี เนื่องจาก การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ตัดกลไกการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิตออกไปนั้นเอง สำหรับประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับที่ 21 ของโลก ในปี ค.ศ. 2019 ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 354 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และคาดว่าจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดเท่ากับ 368 ล้านต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี ค.ศ. 2025 เพื่อเข้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065 ตามที่ได้ประกาศไว้ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้เร่งแปลงเป้าหมายดังกล่าวให้เป็นแผนงานที่เป็นรูปธรรม เช่น การปรับยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ และกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย (Nationally Determined Contribution; NDC) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20-25 เป็นร้อยละ 30-40 จากระดับปกติภายในปี ค.ศ. 2030 จัดทำบทความโดย นางสาวอัฏฐารจ ชาวชน นักวิชาการสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการ กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม   เอกสารอ้างอิง กองประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “แผนที่นําทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๗๓”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2565 จาก https://climate.onep.go.th/wp-content/uploads/2019/07/NDC-Roadmap-for-Printing.pdf บีบีซีไทย. “โลกร้อน: การประชุม COP26 ในกลาสโกว์ตกลงอะไรกันได้บ้าง”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2565 จาก https://www.bbc.com/thai/international-59264622 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์. “Carbon neutrality” กับ “net zero emissions” ต่างกันอย่างไร? และมีความสำคัญอย่างไร?”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2565จาก https://www.pier.or.th/blog/2022/0301/ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ดร. พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวในการสัมมนาหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : ยุทธศาสตร์ของไทยและบทบาทของรัฐสภา”. [อ้างอิงจากสถานะเฟซบุ๊ก]. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2565 จาก https://fb.watch/ejMcO4sNjr/ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). “กิจกรรมชดเชยคาร์บอนคืออะไร”. (etutorworld.com) [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2565จาก http://carbonmarket.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=Y29uY2VwdF9vZmZzZXR0aW5n The Standard. “Net Zero ก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ทางรอดของมนุษยชาติ”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2565 จาก https://thestandard.co/podcast/thesecretsauce-executive-espresso286/

การป้องกันไม่ให้เกิดอัคคีภัยถือเป็นเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการหมั่นตรวจสอบสายไฟฟ้า เส้นทางเดินไฟต่างๆ เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วหรือลัดวงจรซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่มักจะทำให้เกิดอัคคีภัยขึ้น การหมั่นตรวจสอบไฟ ก่อนออกจากบ้านว่าเราได้ดับแล้วหรือไม่ แม้กระทั่งการติดตั้งระบบเตือนเพลิงไหม้ หรือ ระบบ fire alarm ก็ด้วย

ในปัจจุบันมีการให้ความสำคัญกับการติดตั้ง ระบบ fire alarm มากขึ้น สังเกตได้จากโครงการหมู่บ้านจัดสรรทั่วไป ที่มักจะแถม ระบบ fire alarm และถังดับเพลิงพร้อมมากับตัวบ้านด้วย หรือแม้แต่ตามบริษัท องค์กรและอาคารขนาดใหญ่ก็จะมี ระบบ fire alarm ติดตั้งตามที่กฎหมายบังคับ

ระบบ fire alarm ประกอบด้วยอะไรบ้าง

  1. ชุดจ่ายไฟ (Power Supply)
    ชุดจ่ายไฟเป็นอุปกรณ์แปลงกำลังไฟฟ้าของแหล่งจ่ายไฟให้เป็นกำลังไฟฟ้ากระแสตรง นำไปจ่ายให้กับระบบพลังงาน โดยทั่วไปแล้วชุดจ่ายไฟจะต้องมีระบบไฟฟ้าสำรอง สำหรับให้ระบบยังทำงานอยู่ได้ในขณะที่เกิดเหตุไฟฟ้าดับ
  2. แผงควบคุม (Fire Alarm Control Panel)
    แผงควบคุม ตู้ควบคุมระบบ fire alarm เป็นทั้งส่วนควบคุมและตรวจสอบการทำงานของระบบ fire alarm สามารถแสดงผลการตอบสนองของอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณเพลิงไหม้ รวมถึงส่งสัญญาณ fire alarm แจ้งเหตุเพลิงไหม้ ไปตามตำแหน่งต่างๆ ที่วางระบบสัญญาณ ไว้ ส่วนประกอบสำคัญของตู้ควบคุมระบบ fire alarm ได้แก่

    1. CPU ตู้ควบคุม fire alarm
    2. สัญญาณไฟ LED บอกสถานะต่างๆ เช่น
      • ไฟแสดงแหล่งจ่ายไฟ
      • ไฟแสดงสถานะการตรวจจับของอุปกรณ์
      • ไฟแสดงสถานะขัดข้องของอุปกรณ์ตรวจจับและระบบ
    3. ปุ่มควบคุมการทำงานต่างๆ เบื้องต้น เช่น
      • ปุ่มรับทราบเหตุการณ์
      • ปุ่มหยุดเสียงการแจ้งเหตุ
      • ปุ่มเคลียร์เหตุการณ์ต่างๆ
    4. Main Sound Buzzer ส่งเสียงดังขณะเแจ้งเหตุ ประกอบไปด้วย
      • ชุดจ่ายไฟ
      • แผงควบคุม
      • อุปกรณ์ประกอบ
      • อุปกรณ์เริ่มสัญญาณ
      • อุปกรณ์แจ้งสัญญาณ
  3. อุปกรณ์เริ่มสัญญาณ (Initiating Devices)
    อุปกรณ์เริ่มสัญญาณ อุปกรณ์ตรวจจับเหตุเพลิงไหม้ และส่งสัญญาณเตือนอัคคีภัยตรวจจับได้ถึงความร้อน ควันและเปลวไฟ เป็นต้น โดยอุปกรณ์เริ่มสัญญาณจะแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

    • อุปกรณ์เริ่มสัญญาณแบบมือดึงจากบุคคล (Manual Pull Station)อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือเป็นอุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือนอัคคีภัยแบบใช้มือกด ดึง หรือทุบกระจก โดยจะติดตั้งอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ด้วยมือในจุดที่สังเกตได้ง่าย เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ผู้พบเหตุก็จะสามารถเริ่มสัญญาณดับเพลิงได้เลย
    • อุปกรณ์เริ่มสัญญาณโดยอัตโนมัติ (Detectors)อุปกรณ์เริ่มสัญญาณโดยอัตโนมัติ
      เป็นอุปกรณ์ที่สามรถตรวจจับการเกิดเหตุเพลิงไหม้ได้โดยอัตโนมัติ จากการมีปฏิกริยาไวต่อสภาะตามระยะต่างๆ ของการเกิดเพลิงไหม้ ชนิดของอุปกรณ์เริ่มสัญญาณอัตโนมัติ ได้แก่

      1. อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) แบ่งเป็น 2 ชนิด
        • อุปกรณ์ตรวจจับควัน แบบลำแสง (Projected Beam Detector)
        • อุปกรณ์ตรวจจับควัน แบบใช้ในท่อลม (Duct Smoke Detector)
      2. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) แบ่งเป็น 2 ชนิด
        • อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ชนิดกำหนดอุณหภูมิ (Fixed Temperature)
        • อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ชนิดคอมบิเนชั่น (Combination)
      3. อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame Detector) แบ่งเป็น 2 ชนิด
        • ชนิดตรวจจับแสงที่เป็นแสงอินฟาเรด(Infrared)
        • ชนิดตรวจจับแสงที่เป็นแสงอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet)
      4. อุปกรณ์ตรวจจับแก๊ส (Gas Detector)
      5. อุปกรณ์ตรวจสอบน้ำไหล (Water Flow Switch)โดยควรตรวจเช็คระบบไฟอลามอยู่เสมอว่าอุปกรณ์แจ้งเตือนไฟไหม้ยังสามารถใช้งานได้อย่างปกติอยู่หรือไม่ โดยตรวจเช็คจากการใช้ชุดทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับ
  4. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณด้วยเสียงและแสง (Audible & Visual Signalling Alarm Devices)
    อุปกรณ์แจ้งสัญญาณด้วยเสียงและแสง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เสียงหรือแสงในการเตือนสัญญาณแจ้งเหตุไฟไหม้ที่เกิดขึ้นในพื้นที่อาคาร หรือบริเวณที่ติดตั้งอุปกรณ์ชนิดของอุปกรณ์แจ้งเตือนไฟไหม้ด้วยแสงและเสียง เช่นกระดิ่งเตือนภัยสัญญาณไฟเสียงอิเล็กทรอนิคส์เสียงสโลว์-วูฟ เสียงประกาศจากลำโพงแสงไฟกระพริบ
  5. อุปกรณ์เสริม (Auxiliary Devices)
    อุปกรณ์เสริมคืออุปกรณ์ที่ทำงานเชื่อมกับระบบอื่นๆ ของระบบแจ้งเตือนไฟไหม้ ทำหน้าที่เชื่อมสัญญาณไปยังระบบต่างๆ ของอาคาร เช่นควบคุมการเปิด-ปิดประตูหนีไฟควบคุมการปิดพัดลมในระบบปรับอากาศควบคุมระบบบังคับลิฟต์ลงมาชั้นล่างควบคุมระบบกระจายเสียงและประกาศแจ้งข่าวทำงานร่วมกับระบบดับเพลิง

ระบบ fire alarm แบบไหนที่เหมาะกับคุณ

การเลือกใช้ระบบ fire alarm แท้จริงอาจจะไม่มีสูตรตายตัว ในการเลือกใช้ ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของอาคาร แต่โดยทั่วไปแล้ว ในการติดตั้งระบบ fire alarm นั้น เราสามารถพิจารณาได้จาก

  1. ขนาดของตัวอาคาร ถ้าเป็นอาคารขนาดเล็กก็สามารถเลือกใช้ Conventional Fire Alarm System ก็เพียงพอ แต่ถ้าเป็นอาคารขนาดใหญ่ และต้องการความปลอดภัยสูง ก็ควรเลือกใช้ Addressable Fire Alarm System หรือ Intelligent Fire Alarm System ก็ได้
  2. ความต้องการความปลอดภัย ถ้าสิ่งของในตัวอาคารมีคุณค่าอย่างมาก ความสำคัญอย่างมาก และต้องการความปลอดภัยขั้นสูง เราอาจจะเลือกใช้ ระบบ fire alarm แบบ Addressable Fire Alarm System, Intelligent Fire Alarm System หรือ Aspiration Fire Detection System ก็ได้
  3. ความสะดวกสบายในการใช้งาน หากเจ้าของอาคารท่านใดต้องการความสะดวกในการใช้งาน ก็สามารถเลือกติดตั้งระบบ fire alarm แบบ Intelligent Fire Alarm หรือ Wireless Fire Alarm System ได้ การติดตั้งระบบ fire alarm ปัจจุบันเป็นเรื่องที่สำคัญกับอาคารบ้านเรือน หรือตามองค์กร บริษัท ห้างร้านต่าง ๆ เพราะเป็นการให้ความสำคัญถึงความปลอดภัยของผู้พักอาศัย ของคนทำงานในองค์กร รวมทั้งทรัพย์สินต่าง ๆ ในตัวอาคารด้วย การเลือกใช้ระบบ fire alarm มาใช้ในตัวบ้านไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็ตาม เราสามารถเลือกนำมาติดตั้งได้ขึ้นอยู่กับความต้องการ

และหากใครที่กำลังมองหา ระบบ fire alarm แบบ Conventional Fire Alarm Control Panel หรือ Intelligent Fire Alarm Control Panel ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ระบบสำหรับแจ้งเตือน เมื่อมีเหตุเพลิงใหม้

นึกถึงบริษัท ที.จี. คอนโทรล จำกัด  เราเป็นตัวแทนจำหน่าย Fire alarm ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ยี่ห้อ GST จากบริษัท แคเรียร์ คอมเมอร์เชียล รีฟริเจอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด

แบบครบวงจร เรายินดีให้คำแนะนำและคำปรึกษาเพื่อให้ท่านได้พิจารณาติดตั้งระบบ fire alarm ที่เหมาะสมกับท่านและตามที่ท่านต้องการ ด้วยทีมงานคุณภาพ

โปรโมชั่นสุดค้ม Power Meter ABB‼

Power meter ABB M1M30 Modbus💥ราคา 3,990.-

Power Meter : M1M 30

ABB เพาเวอร์มิเตอร์ รุ่น M1M 30

Power Meter รุ่น M1M 30 เป็นเพาเวอร์มิเตอร์ระบบหน้าจอ LCD ใช้งานง่ายในทุกๆด้าน โดยสามารถประเมินประสิทธิภาพพลังงานได้อย่างแม่นยำ

Power Meter รุ่น M1M30 สามารถเชื่อมต่อบลูทูธทำให้ง่านต่อการกำหนดค่าผ่านแอพพลิเคชั่นในมือถือ และง่ายต่อการติดตั้ง มีการเชื่อมต่ออย่างเต็มรูปแบบ และเดินสายได้อย่างรวดเร็ว

1.แสดงค่าชัดเจน เข้าใจง่าย

แสดงค่าทั้งสามเฟสบนหน้าจอ LED ขนาดใหญ่อย่างชัดเจน ทำให้ง่ายต่อการอ่านค่า

2.ขนาดกระทัดรัด

ต้องการพื้นที่ลึกเข้าไปในตู้ควบคุมไฟฟ้าเพียง 55 มิลลิเมตร

3.ตรวจสอบค่าต่างๆ ในระบบไฟฟ้า

สามารถวัดค่าพื้นฐานสำคัญในระบบไฟฟ้าได้ไม่ว่าจะเป็น กระแส แรงดัน ความถี่ กำลังไฟฟ้า และพลังงานไฟฟ้า

4.ง่ายต่อการใช้งาน

ปุ่มกดพื้นฐานเพื่อใช้ในการตั้งค่าและเลือกเมนูต่างๆ

5.วัดค่าระยะไกล

สามารถใช้งานอินเทอร์เฟส RS485 ด้วยโปรโตคอลการสื่อสาร Modbus RTU ซึ่งทำให้ง่ายต่อการสื่อสารและเชื่อมต่ออุปกรณ์กับสถานที่ที่ห่างไกล

_____________________
📍ติดต่อ บริษัท ที.จี. คอนโทรล จำกัด
☎️โทร. 02-530-9090
📩Email: sales@tgcontrol.com
✅Line: @tgcontrol หรือคลิก https://line.me/R/ti/p/%40tgcontrol
📣PROMOTION 🚩(ซื้อ 10 แถม 1)
🔸Power Meter M1M 30 MODBUS
(ด่วน‼ 💥ของมีจำนวนจำกัด)
—————————————
☑️อุปกรณ์ตรวจ วัดและแสดงผล เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ค่าพลังงานไฟฟ้าต่างๆ เช่น กระแส แรงดัน กำลังไฟฟ้าใช้งานจริง (kw), กำลังไฟฟ้าจินตภาพ (KVAR), กำลังไฟฟ้าปรากฎ (KVA), Power Factor, ,Harmonic, ค่าความถี่ ฯลฯ
**มีระบบสื่อสาร หลายรูปแบบ เช่น Modbus 485 /Ethernet Bus
____________________
☑️ติดต่อ บริษัท ที.จี. คอนโทรล
☎️โทร. 02-530-9090
📩Email: sales@tgcontrol.com
☑️Line: @tgcontrol หรือคลิก https://line.me/R/ti/p/%40tgcontrol